Lifestyle Marketing กลยุทธ์ทางการตลาดที่รู้ทันพฤติกรรมของผู้บริโภค

พบกันอีกเช่นเคยกับ +พีสแควร์เลดี้+???? ปฏิเสธไม่ได้เลยนะคะว่าในยุคปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนเเปลงไปอย่างมากและรวดเร็ว เนื่องด้วยเหตุเเละปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเพราะเทคโนโลยี หรือ สภาพเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้เองเพื่อค้นหาความต้องการที่อยู่ภายใต้จิตใจของผู้บริโภค (Underlying Needs) ผู้ประกอบการเเละเจ้าของเเบรนด์ต่างๆต่างศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในเชิงลึกกว่าเเต่ก่อน เเละนำข้อมูลที่ได้นั้นมาหา Insight และหา Pain Points ที่สินค้าเเละบริการของเเบรนด์นั้นๆจะสามารถเข้าไปตอบสนองได้

Lifestyle Marketing คือ การที่นักการตลาดนำวิถีชีวิตของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมาประยุกต์ใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อสร้างความเเตกต่างจากคู่เเข่งอย่างมีนัยสำคัญ (differentiation) เเละเพื่อสร้างความสัมพันธ์เเละเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับเเบรนด์ เพื่อให้กลยุทธ์ดังกล่าวมีความยั่งยืนในระยะยาว (Sustainable) เเต่การจะทำ Lifestyle Marketing ให้มีประสิทธิภาพนั้นต้องเกิดจากความเข้าใจในพฤติกรรม วิถีชีวิตเเละเเนวความคิดของกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี เพื่อที่การสื่อสารทางการตลาดจะสามารถบรรลุผลอย่างที่เเบรนด์ต้องการ

เหตุผลที่ธุรกิจต่างๆเริ่มหันมาสนใจ Lifestyle Marketing นั้น เป็นเพราะว่าการฟาดฟันกันเพียงเเค่ Functional ของสินค้าเเละบริการอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ผู้บริโภคต้องการสิ่งที่จะมาหล่อเลี้ยงเเละเติมเต็มจิตวิญญาณของพวกเขา ซึ่งก็คือการตอบโจทย์ด้าน Emotional นั่นเอง

ตัวอย่างของ Lifestyle Marketing ที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือสินค้าเเฟชั่นหรือสินค้าที่เน้นดีไซน์ เเบรนด์อาจไม่เสียเวลาเเละงบประมาณในการสื่อสารทางการตลาดไปเพื่อบอกเล่าว่าสินค้าของพวกเขาทำอะไรได้บ้าง ในทางกลับกัน พวกเขาต้องใช้เวลาในการศึกษาถึงวิถีชีวิตเเละไลฟ์สไตล์ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่จะได้ออกเเบบสินค้าเเละออกแบบการสื่อสารทางการตลาดที่เข้ากับไลฟ์สไตล์นั้นๆเเละที่สำคัญสินค้าแฟชั่นเเละสินค้าที่ขายดีไซน์ยังเป็นสินค้าที่สามารถขายได้ในราคาเเพง เพราะผู้บริโภคไม่ได้ใช้เหตุผลในกระบวนการตัดสินใจซื้อเเต่พวกเขาใช้อารมณ์ (Emotional) เป็นตัวในการตัดสินใจ ด้วยเหตุนี้เเบรนด์ที่เข้าใจในไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายอย่างเเท้จริงนั้น ก็จะสามารถสร้างผลกำไรได้จำนวนมหาศาล

นักการตลาดสามารถใช้กลยุทธ์ Lifestyle Marketing ได้โดยการนำ Lifestyle ของผู้บริโภคมาแบ่ง segment ควบคู่ไปกับการแบ่ง segment แบบประชากรศาสตร์ (demographic )ทำให้นักการตลาดไม่ได้มีแต่ข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรู้ไปถึงอุปนิสัยใจคอ ตลอดจนรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคอีกด้วย เพื่อที่นักการตลาดจะได้นำเสนอสินค้าและบริการให้เข้าถึงตัวลูกค้าได้มากขึ้น จนกระทั่งทำให้เกิด competitive advantage หรือความได้เปรียบทางการแข่งขัน ในภาวะการณ์ที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงได้

พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆได้อีกมากมายที่เพจ : P Square PR????