“Marketing Myopia” — วิสัยทัศน์สั้นทางการตลาด ที่คุณอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว

สวัสดีค่ะ กลับมาพบเรื่องราวที่น่าสนใจอีกเช่นเคยกับ +พีสแควร์เลดี้+ วันนี้ขอเสนอเรื่องราวที่ทุกท่านควรระมัดระวังในการทำธุรกิจ ซึ่งก็คือ “Marketing Myopia” วิสัยทัศน์สั้นทางการตลาดนั่นเอง พร้อมเเล้วเรามาดูกันเลยค่ะ ว่าเจ้าวิสัยทัศน์สั้นทางการตลาดนั้น คืออะไร????

Marketing Myopia คือ การหมกมุ่นยึดติดกับตัวผลิตภัณฑ์มากเกินไป จนลืมไปว่าลูกค้าซื้อสินค้าที่คุณค่าไม่ใช่ที่ตัวสินค้า อีกทั้งเทรนด์การบริโภคสินค้าเเละบริการของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนเเปลงอยู่เสมอ คู่เเข่งทางธุรกิจก็เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆเช่นเดียวกัน เป็นผลพวงมาจาก Digital Disruption หรือ การเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีในยุคดิจิตอลที่ทำให้ช่องว่างเเละความเหลื่อล้ำในการทำธุรกิจเเคบลง ดังนั้น ธุรกิจที่มุ่งเน้นเพียงเเค่การพัฒนาสินค้าเเละบริการ เเต่หลงลืมที่จะสร้างคุณค่าเพิ่มที่ส่งมอบให้ลูกค้า (Value Propositioning) เเละพัฒนาสินค้าเเละบริการให้เข้ากับยุคสมัย ก็อาจจะประสบกับปัญหาในการดำเนินธุรกิจได้ หรือบางรายก็อาจถึงขั้นล้มละลายได้เลยทีเดียว

เรามาดูกรณีศึกษากันค่ะเพื่อที่ทุกท่านจะได้เข้าใจถึงความหมายของ Marketing Myopia มากขึ้น

“Kodak วัวหายล้อมคอก” — ยุครุ่งเรืองที่สุดของ Kodak คือ ช่วงปี 1970-1990 ซึ่งเคยครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 90% ในตลาดสหรัฐ ทว่าช่วงปลาย 1990 เริ่มมีการคิดค้นกล้องดิจิตอลขึ้น ในระยะแรก กล้องยังถ่ายได้ไม่คมชัดเท่ากล้องฟิล์ม อีกทั้งราคาแพงมาก ผู้บริหาร Kodak จึงมองว่า กล้องดิจิตอลไร้ประสิทธิภาพ และผู้บริโภคน่าจะชอบปริ๊นท์ภาพถ่ายออกมาดูมากกว่า ทว่าเมื่อ เอชพี โซนี่ และบริษัทอิเล็คทรอนิกส์อื่นๆรุกตลาดกล้องดิจิทัลอย่างจริงจัง โกดักก็เริ่มหันมาทุ่มทุนพัฒนากล้องดิจิตอลของตนเองบ้าง ทว่าไล่ตามเทคโนโลยีของคู่แข่งไม่ทันเสียแล้ว กำไรที่สั่งสมมากว่าร้อยปีถูกใช้ในการวิจัยและการตลาดกล้องดิจิตอลและเครื่องปริ๊นท์ ในขณะเดียวกัน ยอดขายกล้องฟิล์มและฟิล์มถ่ายรูปก็ลดลงอย่างฮวบฮาบ ทำให้บริษัทขาดรายได้มาค้ำจุน ในที่สุด ในปีค.ศ. 2012 บริษัทประกาศล้มละลาย ปิดตำนานยักษ์ใหญ่แห่งโลกฟิล์มถ่ายรูปเพราะผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์และการวางกลยุทธ์ที่ดี

“Fujifilm กล้าที่จะก้าวไปข้างหน้า” — บริษัทฟูจิ ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1934 ภายใน 10 ปีแรกของการเริ่มต้นธุรกิจ ฟูจิได้กลายมาเป็นเป็นผู้ผลิตฟิล์มถ่ายภาพ, ฟิล์มภาพยนตร์ และฟิล์มเอ็กซเรย์ ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทมิได้พัฒนาเพียงแค่ฟิล์มถ่ายภาพเท่านั้น เเต่ยังเข้าสู่ธุรกิจกระจกส่องขยาย เลนส์ และอุปกรณ์เสริม หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ฟูจิได้ขยายอาณาจักร กระจายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ (เอ็กซเรย์), การพิมพ์, ระบบภาพอิเลคทรอนิค และอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้า และพัฒนาเทคโนโลยีธุรกิจอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ทว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับฟิล์มและการล้างภาพถ่ายภาพ ซึ่งเป็นสาขาที่ฟูจิเชี่ยวชาญ เเละ ฟูจิยังได้ร่วมทุนกับกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพอย่าง Astalift ที่เป็นแบรนด์ชั้นนำด้านความงามชื่อดังของญี่ปุ่นพัฒนาเครื่องสำอางเนื่องจากพบว่า สารในฟิล์มช่วยรักษาความชุ่มชื้นบนใบหน้า ฟูจิยังได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Mitsubishi เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านชีวเวชภัณฑ์ และขยายธุรกิจจากการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีภาพถ่ายและเครื่องถ่ายเอกสาร ไปสู่วงการเวชภัณฑ์อีกด้วย
เนื่องจากผู้บริหารฟูจิที่มีวิสัยทัศน์ ไม่ยึดติดกับความสำเร็จจากธุรกิจฟิล์มถ่ายภาพ ส่งผลให้กล้าริเริ่มธุรกิจใหม่ๆทันเวลา ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เช่น กล้องดิจิตอล หรือสมาร์ทโฟน จะส่งผลกระทบธุรกิจของตนโดยใช้เทคโนโลยีและความถนัดหลักของตนเป็นพื้นฐาน (Core Competency)

พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆได้อีกมากมายที่เพจ : P Square PR????

Leave a Reply