ตรวจสุขภาพเเบรนด์กันบ้างรึยังคะ ? — Part 2

กลับมาพบกับภาคต่อของโพสต์ที่เเล้ว เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพเเเบรนด์นะคะ หลายท่านที่อ่านเเล้วอาจเกิดคำถามว่า เเล้วเราจะตรวจสุขภาพเเบรนด์ของเราได้อย่างไร วันนี้ +พีสแควร์เลดี้+ ขอเสนอดัชนีในการวัดการรับรู้ของลูกค้า ซึ่งมีอยู่ 9 ระดับด้วยกัน พร้อมเเล้วมาดูกันเลยค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง

ดัชนีตรวจวัดระดับการรับรู้ (Perception Level Index) ดังนี้
Level 1 : Awareness (การรับรู้ว่ามีอยู่)
– ผู้บริโภคสามารถบอกได้ว่า พวกเขาเคยเห็น/เคยสัมผัสแบรนด์ นี้มาก่อน
– สะท้อนให้เห็นว่าแบรนด์มีองค์ประกอบที่โดดเด่น ชัดเจน สะดุดตา
– ผู้บริโภครับรู้ถึงการมีตัวตนอยู่ของแบรนด์ (Brand Existence)
– แสดงให้เห็นว่าการเเนะนำตัว ชื่อ สัญลักษณ์ของแบรนด์มีประสิทธิภาพ
– มี Touch-point ในปริมาณที่เอื้อต่อการรับรู้ของผู้บริโภค

Level 2 : Familiarity (คุ้นเคย)
– สะท้อนให้เห็นถึงการวางแผน การเลือกใช้ และการออกแบบ Touch-Point ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเเทรกซึมและเป็นส่วนหนึ่งตลอดเส้นทางที่แบรนด์มี interact กับผู้บริโภค
– ยิ่งผู้บริโภคพบเห็นแบรนด์บ่อยเท่าไหร่ แบรนด์ก็ยิ่งเพิ่มระดับการรับรู้ของผู้บริโภคได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ควรระวัง เพราะถ้าขาดการออกแบบการวางแผนที่ดี แบรนด์อาจเป็นส่วนเกินมากกว่าส่วนหนึ่ง

Level 3 : Association (เชื่อมโยงกับสิ่งที่มี”คุณค่า”)
– เป็น????ของการสร้างแบรนด์
– เป็นดัชนีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของแบรนด์ในการสื่อสารคุณค่าที่ตนเองมีร่วมกับผู้บริโภค (คุณค่าร่วม)
– บ่งชี้ถึงช่องว่างความเข้าใจระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค
– คุณค่าที่แบรนด์มีต้องเป็นคุณค่าเดียวกันกับที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ

Level 4 : Preference (สนใจเเละชื่นชอบเเบรนด์)
– เป็นดัชนีที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคชื่นชอบเรื่องราวและวิธีการถ่ายทอดเรื่องราวจากแบรนด์หรือไม่
– Preference แสดงให้เห็นว่าพวกเขารู้สึกดีต่อการมีสายสัมพันธ์กับแบรนด์
– การที่ผู้บริโภครู้สึกเฉยๆเป็นเพราะไม่เกิดคุณค่าร่วมกับแบรนด์
– แบรนด์ที่มีจุดยืนชัดเจน ย่อมมีผู้บริโภคที่ชื่นชอบและไม่ชอบเป็นปกติ แต่หน้าที่ของแบรนด์คือมองหาช่องทางที่จะสานสัมพันธ์กับคนเหล่านั้น

Level 5 : Consideration (ต้องการซื้อเเละพิจารณาเเบรนด์)
– เป็นระดับที่ผู้บริโภคมีเเนวโน้มจะเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ เพราะมีความต้องการเกิดขึ้น
– เป็นไปได้ว่าผู้บริโภคอาจมีแบรนด์ที่สนใจมากกว่า1แบรนด์ แต่เขาจะเลือกแบรนด์ที่มีคุณค่าร่วมมากกว่าแบรนด์ที่ไม่มี

Level 6 : Decision (ตัดสินใจซื้อ)
– เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญที่สุดทั่งในมุมของการตลาดและธุรกิจ
– หากผู้บริโภครับรู้ว่าคุณค่าที่แบรนด์มีต่อพวกเขา มีสูงกว่ามูลค่าที่ต้องจ่าย การตัดสินใจซื้อก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายมากขึ้น

Level 7 : Promise (พิสูจน์ความน่าเชื่อถือของเเบรนด์)
– เป็นระดับที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ได้กลายเป็นลูกค้าของแบรนด์
– ผู้บริโภคเชื่อมโยงสินค้าและบริการเข้ากับคุณค่าร่วม ประสบการณ์ และความรู้สึกว่าแบรนด์เป็นเพื่อนที่ดี

Level 8 : Inspiration (เติมเต็มตัวตนของผู้บริโภค)
– ผู้บริโภคมองหาแรงบันดาลใจจากสินค้าและบริการของแบรนด์
– เป็นตัวบ่งชี้ว่าแบรนด์ได้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตและเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค
– การรับรู้ที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจจะช่วยให้ผู้บริโภคซึมซับเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์และนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่มากกว่าการเป็นลูกค้า

Level 9 : Ambassador & Advocacy (ตัวเเทนและผู้สนับสนุนแบรนด์)
– เปลี่ยนลูกค้าเป็นเพื่อนที่ดีที่พร้อมจะสนับสนุน
– เปลี่ยนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้กลายเป็นตัวแทนของแบรนด์
– เป็นระดับที่สะท้อนคุณค่าที่แบรนด์มีต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง
– ผู้บริโภคเข้าใจแบรนด์ทุกด้าน มีความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม พร้อมที่จะพูด แสดงออก และปกป้องแบรนด์
– การที่ตัวเเทนของแบรนด์ขาดประสบการณ์โดยตรงกับแบรนด์ อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี

(Level1-3 = ก่อนซื้อ , Level 4-6 = การมีปฏิสัมพันธ์กับเเบรนด์ , Level 7-9 = หลังการซื้อ)

พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่เพจ : P Square PR

Leave a Reply